วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เครื่องมือใน



1. Rectangular Marquee Tool เมื่อเราคลิ๊กที่เครื่องมือนี้ เราก็สามารถที่จะนำไปใช้เลือกส่วนต่าง ๆ ที่ต้องการในภาพได้ทันทีโดยการคลิ๊กที่จุดเริ่มต้น แล้วแดรกเมาส์เป็นแนวทแยงมุมทางทิศทางใดก็ได้ ก็จะปรากฏเส้นประขึ้นมาตามการลาก เมื่อปล่อยเมาส์ก็จะเกิดเส้นประรูปสี่เหลี่ยมขนาดตามที่เราเลือกไว้




2. Elliptical Marquee Tool ฟังก์ชั่นทุกอย่างจะเหมือนกับ Rectangular Marquee Tool โดยในส่วนของ Width กับ Height นั้น Width จะหมายถึงระยะเส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวนอน Height จะหมายถึงระยะเส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวตั้ง เราสามารถใช้คีย์บอร์ดร่วมกับการใช้เครื่องมือสร้าง

3. Single Row Marquee Tool ฟังก์ชั่นทุกอย่างจะเหมือนกับ Rectangular Marquee Tool แต่ไม่มีในส่วนของ Anti-aliased , Style Width และ Height และการกำหนด Feature จะไม่มีผลต่อภาพ เพราะขนาดของขอบเขตการเลือกนั้นก็มีขนาดแค่ 1 Pixel อยู่แล้ว


4. Single Column Marquee Tool ฟังก์ชั่นทุกอย่างจะเหมือนกับ Rectangular Marquee Tool แต่ไม่มีในส่วนของ Anti-aliased , Style Width และ Height และการกำหนดFeature จะไม่มีผลต่อภาพ เพราะขนาดของขอบเขตการเลือกนั้นก็มีขนาดแค่ 1 Pixel อยู่แล้ว
และเมื่อเราขยาย Selection ที่เลือกไว้จนถึงขนาดสูงสุด เราจะเห็นขอบเขตการเลือก ดังรูปที่ 4


วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หลักการออกแบบกราฟฟิค

การออกแบบกราฟฟิคในงานใดๆ ก็มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายแตกต่างกันไป หลังจากเราได้ออกแบบกราฟฟิคในขั้นตอนการออกแบบพัฒนาสินค้ามาแล้ว 4ประเภท เราก็จะมาทำการโฆษณาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ แนวทางออกแบบจะเปลี่ยนไปตามลักษณะของสื่อแต่ละประเภท ที่มีข้อกำหนดต่างกันไป สื่อชิ้นแรกที่เราจะทำการออกแบบเพื่อการโฆษณาสินค้าคือ โปสเตอร์ (Poster)


สิ่ง พิมพ์มีมากมายหลายประเภทโดยเฉพาะด้านสิ่งพิมพ์เพราะเป็นปัจจัยที่ส่งเสริม การตลาดได้อย่างดี โปสเตอร์โฆษณาก็เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีบทบาทต่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เพราะสื่อประเภทนี้สามารถเผยแพร่ได้สะดวกและกว้างขวางสื่อสารได้ทุกเพศทุก วัยเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ ออกแบบได้อย่างอิสระ การออกแบบโฆษณาจึงเน้นเรื่องความแปลกตา อาจจะมีเพียงภาพ หรือข้อความเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ทำให้นักออกแบบได้ใช้ความคิดใหม่ๆเสมอ

สื่อโฆษณาโปสเตอร์ poster ที่ดีควรสื่อความคิดหลัก 5 ประการได้แก่

1.จะต้องตอบสนองแนวความคิดในการสื่อความหมายได้อย่างเต็มที่
2.จะต้องชัดเจนในภาพประกอบและข้อความที่ใช้ในการสื่อความหมายเหมาะสมชัดเจน
3.ภาพประกอบและข้อความที่นำเสนอควรมีความสอดคล้องสัมพันธ์และส่งเสริมซึ่งกันและกัน
4.จะต้องสามารถดึงดูดความสนใจกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด
5.ต้องมีความกะทัดรัดและแสดงแนวความคิดหลักเพียงอย่างเดียว

วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การติดตั้ง Microsft Office 2010

1. เข้า my computer แล้ว ดับเบิลคลิก DVD RW ดับเบิลคลิก now2010 Application ดับเบิลคลิก Microsoft office 2010 แล้ว setup
2. จะขึ้นหน้า Read the Microsoft office License Terms คลิก I accept the terms of this agreement คลิก continue
3. จะขึ้นหน้า choose the installion you want คลิก customize
4. เลือกโปรแกรมที่เราต้องการใช้ คลิกขวา กด Run from my computer แล้วคลิก Install Now
5. การลงโปรแกรม Microsoft office 2010 เสร็จสิ้นแล้วค่ะ

วิธีลง windows 7

1. ใส่แผ่น windows 7
2. Restart เครื่อง
3. กด Enter เลือก windows
4. แล้วกด สเปคบาร์
5. แล้วกด Enter
6. ตรง Time and currency format ให้เลือกภาษาไทย แล้วกด Next
7. คลิก Install now
8. จะขึ้นหน้า Please read the license terms แล้วให้เราคลิก I accept the license terms แต่ถ้าเราไม่ยอมรับ ปุ่ม Next จะเป็นสีเทา
9. จะขึ้นหน้า which type of installation do you want? จะให้เราเลือกชนิด 1. Upgrade 2.Custom(advanced) แล้วให้เลือก Custom(advanced)
10. จะขึ้นหน้า Where do you want to install windows?
Disk 0 Partition 1 คือ ไดร์ C
Disk 0 Partition 2 คือ ไดร์ D
Disk 0 Partition 3 คือ ไดร์ E
Disk 0 Unallocated space พื้นที่ว่าง
แล้ว Delete ไดร์ C แล้วคลิก ok
11. คลิก New แล้วคลิก Apply คลิก ok แล้วจะมี Disk 0 Partition 1: system Reserved
12. คลิก Next แล้วรอ...
13. แล้วจะขึ้นหน้า Setup Windows จะมีช่อง Type a user name(for eyample, John) ให้ใส่รหัสเครื่อง Type a computer name: มันจะขึ้น PC ให้เราอยู่แล้ว คลิก Next
14. จะขึ้นหน้า set apassword for your account แล้วคลิก Next
15. จะขึ้นหน้า Type your windows product key คลิก Next
16. จะขึ้นหน้า Help Protect your computer and improve windows automatically ให้เลือก use recommenended settings
17. จะขึ้นหน้า Review your time and date settings ตรง Time zone: เวลาตรงกับประเทศของเรารึเปล่า ถ้าตรงกับประเทศเราแล้ว คลิก Next จะขึ้นหน้า Join a wireless network แล้วเลือกสถานี wireless คลิก Next
18. จะขึ้นหน้า Select your computer's current location เลือก work network แล้วรอ... เครื่องจะ Restart รอไม่ต้องไปกดอะไร
19. แล้วจะขึ้นหน้าเดสท๊อบ
20. การลง windows 7 เสร็จสิ้นแล้วค่ะ

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

ชนิดข้อมูลใน MySQL

VARCHAR คล้ายกับแบบ CHAR(M) แต่สามารถปรับขนาดตามข้อมูลที่เก็บในฟิลด์ได้ ความกว้างเป็นได้ตั้งแต่ 1 ถึง 255 ตัวอักษร
TINYINT สำหรับเก็บข้อมูลชนิดตัวเลขที่มีขนาด 8 บิต ข้อมูลประเภทนี้เราสามารถกำหนดเพิ่มเติม ในส่วนของ "แอตทริบิวต์" ได้ว่าจะเลือกเป็น UNSIGNED หรือ UNSIGNED ZEROFILL โดยจะมีความแตกต่างดังนี้UNSIGNED : จะหมายถึงเก็บค่าตัวเลขแบบไม่มีเครื่องหมาย แบบนี้จะทำใหสามารถเก็บค่าได้ ตั้งแต่ 0 - 255 UNSIGNED ZEROFILL : เหมือนข้างต้น แต่ว่าหากข้อมูลที่กรอกเข้ามาไม่ครบตามจำนวน หลักที่เรากำหนด ตัว MySQL จะทำการเติม 0 ให้ครบหลักเอง เช่น ถ้ากำหนดให้ใส่ได้ 3 หลัก แล้วทำการเก็บข้อมูล 25 เข้าไป เวลาที่สืบค้นดู เราจะได้ค่าออกมาเป็น 025 หากไม่เลือก "แอ ตทริบิวต์" สิ่งที่เราจะได้ก็คือ SIGNED นั่นก็คือต้องเสียบิตนึงไปเก็บเครื่องหมาย บวก/ลบ ทำ ให้สามารถเก็บข้อมูลได้อยู่ในช่วง -128 ถึง 127 เท่านั้น
TEXT เป็น text ที่ความกว้างเป็นได้สูงสุด 65,535 ตัวอักษร
DATE ขนาดที่เก็บ 3 ไบต์เก็บค่าวันที่ในรูปแบบ YYYY-MM-DDโดยมีค่าตั้งแต่ 1000-01-01 ถึง 9999-12-31
SMALLINT สำหรับเก็บข้อมูลประเภทตัวเลขที่มีขนาด 16 บิต จึงสามารถเก็บค่าได้ตั้งแต่ -32768 ถึง 32767 (ในกรณีแบบคิดเครื่องหมาย) หรือ 0 ถึง 65535 (ในกรณี UNSIGNED หรือไม่คิดเครื่องหมาย)ซึ่งสามารถเลือก Attribute เป็น UNSIGNED และ UNSIGNED ZEROFILL ได้เช่นเดียวกับ TINYINT
MEDIUMINT สำหรับเก็บข้อมูลประเภทตัวเลขที่มีขนาด 24 บิต นั่นก็หมายความว่าสามารถเก็บ ข้อมูลตัวเลขได้ตั้งแต่ -8388608 ไปจนถึง 8388607 (ในกรณีแบบคิดเครื่องหมาย) หรือ 0 ถึง 16777215(ในกรณีที่เป็น UNSIGNED หรือไม่คิดเครื่องหมาย) ซึ่งสามารถเลือก Attribute เป็น UNSIGNED และ UNSIGNED ZEROFILL ได้เช่นเดียวกับ T
INT ขนาดที่เก็บ 4 ไบต์UNSIGNED เก็บค่าจำนวนเต็ม 0 ถึง 4294967295SIGNED เก็บค่าจำนวนเต็ม -2147483648 ถึง 2147483647
BIGINT ขนาดที่เก็บ 8 ไบต์UNSIGNED เก็บค่าจำนวนเต็ม 0 ถึง 18446744073709551615SIGNED เก็บค่าจำนวนเต็ม -9223372036854775808 ถึง 9223372036854775807
FLOAT ขนาดที่เก็บ 4 ไบต์เก็บค่าจำนวนจริงแบบ IEEEตั้งแต่ -3.402823466E+38 ถึง -1.175494351E-38และ 0และ 1.175494351E-38 ถึง 3.402823466E+38
DOUBLE ขนาดที่เก็บ 8 ไบต์เก็บค่าจำนวนจริงแบบ IEEEตั้งแต่ -1.7976931348623157E+308 ถึง -2.2250738585072014E-308และ 0และ 2.2250738585072014E-308 ถึง 1.7976931348623157E+308
DECIMAL สำหรับเก็บข้อมูลประเภทตัวเลขทศนิยม เช่นเดียวกับ FLOAT แต่ใช้กับข้อมูลที่ ต้องการความละเอียดและถูกต้องของข้อมูลสูง ข้อสังเกต เกี่ยวกับข้อมูลประเภท FLOAT, DOUBLE และ DECIMAL ก็คือ เวลากำหนดความ ยาวของข้อมูลในฟิลด์ จะถูกกำหนดอยู่ในรูปแบบ (M,D) ซึ่งหมายความว่า ต้องมีการระบุว่า จะให้มี ตัวเลขส่วนที่เป็นจำนวนเต็มกี่หลัก และมีเลขทศนิยมกี่หลัก เช่น ถ้าเรากำหนดว่า FLOAT(5,2) จะ หมายความว่า เราจะเก็บข้อมูลเป็นตัวเลขจำนวนเต็ม 5 หลัก และทศนิยม 2 หลัก ดังนั้นหากทำการใส่ ข้อมูล 12345.6789 เข้าไป สิ่งที่จะเข้าไปอยู่ในข้อมูลจริงๆ ก็คือ 12345.68 (ปัดเศษให้มีจำนวนหลัก ตามที่กำหนดไว้)
TIMESTAMP ขนาดที่เก็บ 4 ไบต์เก็บวันที่และเวลาในรูปแบบ String Timestampm = 14 หรือไม่กำหนด -> YYYYMMDDHHmmSSm = 12 -> YYMMDDHHmmSSm = 10 -> YYMMDDHHmmm = 8 -> YYYYMMDDm = 6 -> YYMMDDm = 4 -> YYMMm = 2 -> YYโดยมีค่าตั้งแต่ 1970-01-01 00:00:00 ถึง 2037
TIME ข้อมูลประเภทเวลา สามารถเป็นได้ตั้งแต่ ‘-838:59:59’ ถึง ‘838:59:59’ แสดงผลในรูปแบบ HH:MM:SS
YEAR ข้อมูลประเภทปี คศ โดยสามารถเลือกว่าจะใช้แบบ 2 หรือ 4 หลักถ้าเป็น 2 หลักจะใช้ได้ตั้งแต่ปี คศ 1901 ถึง 2155ถ้าเป็น 4 หลักจะใช้ได้ตั้งแต่ปี คศ 1970 ถึง 2069CHAR เป็นข้อมูลสตริงที่จำกัดความกว้าง ไม่สามารถปรับขนาดได้ ขนาดความกว้างเป็นได้ตั้งแต่ 1 ถึง 255 ตัวอักษร
TINYTEXT ขนาดที่เก็บตามข้อมูลจริง +1 ไบต์ แต่ไม่เกิน 255 ไบต์เก็บค่าอักษรตามรหัส ASCII หรือข้อมูล BINARY
BLOB ขนาดที่เก็บตามข้อมูลจริง +2 ไบต์ แต่ไม่เกิน 65535 ไบต์เก็บค่าอักษรตามรหัส ASCII หรือข้อมูล BINARY
MEDIUMBLOB ขนาดที่เก็บตามข้อมูลจริง +3 ไบต์ แต่ไม่เกิน 16777215 ไบต์เก็บค่าอักษรตามรหัส ASCII หรือข้อมูล BINARY
MEDIUMTEXTขนาดที่เก็บตามข้อมูลจริง +3 ไบต์ แต่ไม่เกิน 16777215 ไบต์เก็บค่าอักษรตามรหัส ASCII หรือข้อมูล BINARY
LONGBLOB ขนาดที่เก็บตามข้อมูลจริง +4 ไบต์ แต่ไม่เกิน 4294967295 ไบต์เก็บค่าอักษรตามรหัส ASCII หรือข้อมูล BINARY
LONGTEXT ขนาดที่เก็บตามข้อมูลจริง +4 ไบต์ แต่ไม่เกิน 4294967295 ไบต์เก็บค่าอักษรตามรหัส ASCII หรือข้อมูล BINARY
ENUM ขนาดที่เก็บ 1 หรือ 2 ไบต์ ตามจำนวนค่า value ซึ่งกำหนดได้มากที่สุด 65535 ค่าเก็บค่าตาม value ที่กำหนด
SET ขนาดที่เก็บ 1, 2, 3, 4 หรือ 8 ไบต์ ตามจำนวนค่า value ซึ่งกำหนดได้มากที่สุด 64 ค่าเก็บค่าตาม value ที่กำหนด
BOOL เป็นชนิดข้อมูลที่เก็บได้เพียง2ค่าเท่านั้น คือ True กับ false
BINARY ระบบเลขที่มีสัญลักษณ์เพียงสองตัวคือ 0 (ศูนย์) กับ 1 (หนึ่ง) บางครั้งอาจหมายถึงการที่มีโอกาสเลือกได้เพียง 2 ทาง เช่น ปิดกับเปิด, ไม่ใช่กับใช่, เท็จกับจริง, ซ้ายกับขวา เป็นต้น
VARBINARY คือ มีลักษณะการเก็บคล้าย Varcha คือการเก็บข้อมูลตามที่รับมาจริงเท่านั้น มีขนาดสูงสุดมากถึง 8000 ไบต์